วันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2553

แนวคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ

แนวคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ Information Systems Conceptual
ข้อมูลและสารสนเทศข้อมูล (Data)ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ซึ่งอาจเป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ ควรค่าแก่การจัดเก็บเพื่อนำไปใช้ในโอกาสต่อไป โดยข้อมูลอาจเป็นตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่สามารถนำไปใช้ประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์สารสนเทศ (Information)ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ข้อเท็จจริง ความคิดเห็นหรือประสบการณ์ส่วนบุคคล ที่นำมาผ่านกระบวนการประมวลผลข้อมูลและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผน การตัดสินใจ และคาดการณ์อนาคตได้ สารสนเทศอาจแสดงในรูปของข้อความ ตารางแผนภูมิ รูปภาพ เสียงและสัญลักษณ์ต่าง ๆยุคของเทคโนโลยีสารสนเทศ ข้อมูลและสารสนเทศมีความสำคัญต่อการนำไปใช้เพื่อการตัดสินใจ ดังนั้นการจัดการข้อมูลให้มีประสิทธิภาพ รวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการประกอบธุรกิจ และการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน ข้อมูลเกิดจาก Raw Facts สารสนเทศเกิดมาจากการรวบรวมข้อมูลทีผ่านการจัดการเปลี่ยนแปลงสถานภาพของข้อมูล (tuning data) ให้เป็นสารสนเทศคือการประมวลผล (process) แสดงได้ดังภาพต่อไปนี้ประโยชน์ของข้อมูลและสารสนเทศในการบริหารงาน
 ด้านการวางแผน
 ด้านการตัดสินใจ
 ด้านการดำเนินงานคุณสมบัติของข้อมูลและสารสนเทศที่ดี
 มีความถูกต้อง (accuracy)
 มีความสมบูรณ์ (completeness)
 ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ (relevance)
 มีความทันสมัย (up to date)
 ตรวจสอบได้ (verifiable)
 ความประหยัด (economics)
 ความยืดหยุ่น (flexibility)
 สามารถเผยแพร่ได้ (presentation)
 ความง่าย (simple)
 ทันกับความต้องการ (timeliness)ระบบและระบบสารสนเทศระบบหน่วยงานหรือองค์กรที่เกิดขึ้นจากการรวมสิ่งต่างๆ ซึ่งมีลักษณะซับซ้อน เข้าด้วยกันหรือชุดขององค์ประกอบที่มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันในรูปแบบของความสัมพันธ์ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และดำเนินงานร่วมกันไปเพื่อสู่เป้าหมายเดียวกัน
 องค์ประกอบสำคัญของการดำเนินการของระบบส่วนนำเข้า (Input)
 การประมวลผล หรือกระบวนการ (Process)
 ผลผลิตหรือผลลัพธ์ (Output)
 ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback)

การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์

การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์Data Communication and Computer Network
องค์ประกอบของการสื่อสารการสื่อสาร (Communication)เป็นกระบวนการสำหรับถ่ายทอดหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูล หรือสารสนเทศระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารโดยทั่วไปใช้ระบบสัญลักษณ์ร่วมกัน เช่น ท่าทาง ภาษามือ ตัวอักษร ตัวหนังสือ หรือภาษาต่างๆ ซึ่งมนุษย์ได้มีการพัฒนาการติดต่อสื่อสารมาตั้งแต่อดีตที่ใช้ควันไฟ จดหมาย โทรเลข โทรศัพท์ จนกระทั่งถึงปัจจุบันที่มีการสื่อสารผ่านโทรศัพท์มือถือ อินเทอร์เน็ต และดาวเทียมการสื่อสารข้อมูล (Data Communication)เป็นกระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร หรือระหว่างอุปกรณ์สื่อสาร โดยผ่านสื่อกลาง (Transmission Media) ที่ใช้ในการส่งผ่านข้อมูล
1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender) เป็นแหล่งต้นทางของการสื่อสารโดยมีหน้าที่ในการให้กำเนิดหรือเตรียมข้อมูล เช่น ผู้พูด คอมพิวเตอร์ต้นทาง เป็นต้น
2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) เป็นแหล่งปลายทางของการสื่อสาร หรือเป็นอุปกรณ์ที่จะนำข้อมูลนั้นไปใช้ประโยชน์ต่อไปเช่น ผู้รับ คอมพิวเตอร์ปลายทาง เครื่องพิมพ์
3. ข่าวสาร (Message) มีได้หลายรูปแบบ เช่น ข้อความ (Text) เสียง (Voice) รูปภาพ (Image) สื่อผสม (Multimedia)
4. สื่อกลางหรือตัวกลางในการนำส่งข้อมูล (Medium) เป็นสื่อหรือช่องทางที่ใช้ในการนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง ซึ่งอาจเป็นตัวกลางที่มีสายสัญญาณเช่น สายไฟ หรือตัวกลางที่ไม่ใช้สายสัญญาณ เช่น อากาศ เป็นต้น
5. โปรโตคอล (Protocol) เป็นข้อกำหนดหรือข้อตกลงถึงกฎระเบียบและวิธีการที่ใช้ในการสื่อสาร เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับมีความเข้าใจตรงกันเทคโนโลยีการสื่อสารการทำให้เกิดการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในการดำเนินธุรกิจ เกิดระบบธุรกิจการค้ารูปแบบใหม่ คือ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยจะนำเสนอเพื่อความเข้าใจในรูปแบบของ แบบจำลองการสื่อสารและระบบโทรคมนาคม ดังนี้
แบบจำลองการสื่อสาร
1. แหล่งต้นทาง (Source)
2. เครื่องส่ง (Transmitter)
3. ระบบการส่ง (Transmission System)
4. เครื่องรับ (Receiver)
5. แหล่งปลายทาง (Destination)
ระบบโทรคมนาคมการสื่อสารข้อมูลระยะทางไกลในรูปแบบสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ ในช่วงก่อนการโทรคมนาคมมีขีดจำกัดอยู่เพียงการสื่อสารโดยเป็นเสียงคนผ่านสายโทรศัพท์ แต่ในปัจจุบันการส่งสัญญาณโทรคมนาคมเกือบทั้งหมดเป็นการถ่ายทอดสัญญาณในรูปแบบดิจิตอล โดยใช้คอมพิวเตอร์ในการถ่ายทอดข้อมูลจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่งเชื่อกันว่าการพัฒนาการของระบบโทรคมนาคมได้มาถึงช่วงกลาง โดยมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีไปทั่วระบบโทรคมนาคม
1. เครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับการประมวลผล
2. เครื่อง Terminal สำหรับรับและการแสดงผลข้อมูล
3. ช่องสื่อสาร คือการเชื่อมต่อในรูปแบบต่าง ๆ เช่น สายโทรศัพท์ สายใยแก้วนำแสง เป็นต้น
4. อุปกรณ์ประมวลผลสำหรับการสื่อสาร เช่น โมเด็ม เป็นต้น
5. software สื่อสารซึ่งควบคุมกิจกรรมการส่ง รับข้อมูล บริหารจัดการหน้าที่ต่างๆ อำนวยความสะดวกในการสื่อสารชนิดของสัญญาณ— สัญญาณอนาลอก (Analog Signal) เป็นสัญญาณแบบต่อเนื่อง การส่งสัญญาณจะถูกรบกวนให้มีการแปลความหมายผิดพลาดได้ง่าย เนื่องจากทุกค่าถูกนำมาใช้งานนั่นเอง เป็นสัญญาณที่สื่อกลางในการสื่อสารส่วนมากใช้อยู่ เช่น สัญญาณเสียงในสายโทรศัพท์เป็นต้น—
สัญญาณดิจิทัล (Digital Signal) เป็นสัญญาณที่ประกอบจาก 2 ค่าคือ สัญญาณระดับสูง และสัญญาณระดับต่ำ ดังนั้นจะมีประสิทธิภาพ และความน่าเชื่อถือสูงกว่าแบบ Analog เนื่องจากมีการใช้งานค่าเพียง 2 ค่า เพื่อนำมาตีความหมายเป็น on/off หรือ 1/0 เท่านั้น เป็นสัญญาณที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการทำงาน และติดต่อสื่อสารกันทิศทางการสื่อสารข้อมูล
1. แบบทิศทางเดียว (Simplex) ข้อมูลจะถูกส่งจากทิศทางหนึ่งไปยังอีกทิศทางหนึ่ง โดยไม่สามารถย้อนกลับมาได้ เช่น ระบบวิทยุ โทรทัศน์ เป็นต้น
2. แบบกึ่งสองทิศทาง (Half Duplex) ข้อมูลสามารถส่งสลับได้ ทั้งสองทิศทาง โดยผลัดกันส่ง เช่นวิทยุสื่อสารแบบผลัดกันพูด
3. แบบสองทิศทาง (Full Duplex) ข้อมูลสามารถส่งพร้อม ๆ กันได้ทั้งสองทิศทางอย่างอิสระ เช่น ระบบโทรศัพท์ช่องทางการสื่อสารข้อมูลสามารถแบ่งเป็นแบบมีสายสัญญาณและไร้สายสัญญาณคือ wired และ Wireless สื่อกลางแบบมีสายสัญญาณโครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์— ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ คือ ระบบการเชื่อมโยงระหว่างคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป เพื่อให้สามารถทําการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างกันได้— รูปแบบในการเชื่อมต่อเครือข่าย หมายถึง ลักษณะทางกายภาพของเครือข่าย รูปแบบการเชื่อมโยงการสื่อสารของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปภายในเครือข่ายซึ่งรูปแบบที่นิยมใช้กันในปัจจุบันโดยหลักแล้วสามารถแบ่งได้เป็น 3 รูปแบบโครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์— การเชื่อมต่อแบบดาว (Star Topology)— การเชื่อมต่อแบบบัส (Bus Topology)— การเชื่อมต่อแบบวงแหวน (Ring Topology)อุปกรณ์การสื่อสารข้อมูลHARDWARE1. NIC (Network Interface Card) เป็นการ์ด ที่ใช้เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์กับสายสื่อสาร2. HUB เป็นอุปกรณ์จำเป็นในการต่อสายLAN แบบ UTP มี PORT เป็น 8,16 ,243. Bridge เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อสัญญาณระหว่างเครือข่าย LAN 2 เครือข่ายจะทำงานที่ Layer 1 ทำหน้าที่ทวนซ้ำสัญญาณเช่น ในระบบเครือข่ายมี PC 10 เครื่อง เมื่อ PC1 ต้องการส่งข้อมูลไปยัง PC5 ในขณะนั้น PC อื่นๆ จะไม่สามารถส่งข้อมูลได้4. Switching Switch จะทำงานที่ Layer 2 จะทำงานเหมือนกับ Hub แต่ ขณะที่ PC1 ส่งข้อมูลไปยัง PC5 PC อื่นๆ จะยังสามารถส่งข้อมูลได้พร้อม ๆ5. Router เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เหมือนกับบริดจ์แต่จะมีประสิทธิภาพมากกว่า โดยสามารถจัดหาเส้นทางข้อมูล เพื่อส่งไปยังสถานีปลายทางได้อย่างถูกต้อง โดยปัจจุบันมีการรวมหน้าที่การทำงานของ Gateway ไว้ในRouterSOFTWAREระบบปฏิบัติการของระบบเครือข่ายเรียกว่า NOS (Network Operating System) เป็นตัวติดต่อระหว่างสถานีผู้ใช้ กับไฟล์เซิร์ฟเวอร์ เช่น Novell’s Netware OS/2 LAN Server, Microsoft Windows NT Server, Microsoft Windows NT 2000, Apple share, Unix ,Linux etc.ตัวกลางนำสัญญาณ ตัวกลางที่ใช้ในระบบเครือข่าย สามารถเป็นได้ หลายชนิด เช่น Coaxial cable, UTP, Fiber Optic และคลื่นวิทยุที่ใช้กับ Wireless LAN เป็นต้นรูปแบบการประมวลผลข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์1. การประมวลผลแบบรวมศูนย์ (Centralized Processing)— การประมวลผลแบบกลุ่ม (Batch processing)— การประมวลผลแบบออนไลน์ (Online Processing) real time2. การประมวลผลข้อมูลแบบกระจาย (Distributed Processing)
ชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
1. เครือข่ายส่วนบุคคล (PAN: Personal Area Network)
2. เครือข่ายระยะใกล้ (LAN: Local Area Network)
3. เครือข่ายระดับเมือง (MAN: Metropolitan Area Network)
4. เครือข่ายระยะไกลระดับประเทศ (WAN : Wide Area Network)